การบำรุงรักษายานพาหนะ
สาระสำคัญ
ยานพาหนะที่มีระยะเวลาในการใช้งานนาน ๆ อาจจะมีชิ้นส่วนของเครื่องยนต์บางชิ้นเกิดการสึกหรอ หรือชำรุดเสียหายก่อนระยะเวลาการใช้งาน เราจึงควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษายานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ แล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแช่มชิ้นส่วนที่สึกหรออีกด้วย เพราะฉะนั้นการบำรุงรักษายานพาหนะ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขับขี่ควรรู้วิธีตรวจเช็คได้ด้วยตัวท่านเองเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ยานพาหนะ
จุดประประสงค์การเรียนรู้
1. บอกหลักการบำรุงรักษาก่อนใช้ยานพาหนะประจำวัน
2. บอกหลักการตรวจสอบน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์
3. บอกหลักการตรวจแบตเตอรี่และน้ำกรดในแบตเตอรี่
4. บอกหลักการตรวจไฟแสงสว่างของรถยนต์
5. บอกหลักการตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ ถังพักน้ำสำรอง และถังน้ำล้างกระจก
กิจกรรม
1. อธิบายขั้นตอนการดูแลยานพาหนะ
2. สาธิตการปฏิบัติจริงให้ผู้เรียนทุกคนดูตามลำดับขั้นตอน
3. แบ่งกลุ่มนักเรียนปฏิบัติจริง
การวัดผล
1. สังเกตความสนใจใฝ่รู้ในขณะเรียน และการตอบถามในชั้นเรียน
2. การทำแบบฝึกหัดท้ายบท
3. สังเกตจากการปฏิบัติจริงว่ามีความสนใจหรือไม่
สาระสำคัญ
ยานพาหนะที่มีระยะเวลาในการใช้งานนาน ๆ อาจจะมีชิ้นส่วนของเครื่องยนต์บางชิ้นเกิดการสึกหรอ หรือชำรุดเสียหายก่อนระยะเวลาการใช้งาน เราจึงควรรู้จักวิธีการบำรุงรักษายานพาหนะ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตามปกติ แล้วยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแช่มชิ้นส่วนที่สึกหรออีกด้วย เพราะฉะนั้นการบำรุงรักษายานพาหนะ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ขับขี่ควรรู้วิธีตรวจเช็คได้ด้วยตัวท่านเองเพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้ยานพาหนะ
จุดประประสงค์การเรียนรู้
1. บอกหลักการบำรุงรักษาก่อนใช้ยานพาหนะประจำวัน
2. บอกหลักการตรวจสอบน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์
3. บอกหลักการตรวจแบตเตอรี่และน้ำกรดในแบตเตอรี่
4. บอกหลักการตรวจไฟแสงสว่างของรถยนต์
5. บอกหลักการตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ ถังพักน้ำสำรอง และถังน้ำล้างกระจก
กิจกรรม
1. อธิบายขั้นตอนการดูแลยานพาหนะ
2. สาธิตการปฏิบัติจริงให้ผู้เรียนทุกคนดูตามลำดับขั้นตอน
3. แบ่งกลุ่มนักเรียนปฏิบัติจริง
การวัดผล
1. สังเกตความสนใจใฝ่รู้ในขณะเรียน และการตอบถามในชั้นเรียน
2. การทำแบบฝึกหัดท้ายบท
3. สังเกตจากการปฏิบัติจริงว่ามีความสนใจหรือไม่
การบำรุงรักษาก่อนใช้ยานพาหนะประจำวัน
การตรวจรถยนต์ประจำวัน เป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 นาทีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ตรวจจุดต่างฯที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของรถยนต์ เพื่อเป็นหลักประกันว่าระบบต่างๆของรถยนต์ทำงานได้ดีตามปกติ ทำให้เกิดความมั่นใจในการขับขี่ ตลอดจนช่วยยืดอายุการใช้งานของรถยนต์และไม่เป็นปัญหาการติดขัดผู้ใช้ถนนคนอื่นๆ
ก่อนที่ผู้ขับขี่จะทำการตรวจบำรุงรักษาได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องนั้น จะต้องรู้ว่าอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนที่จะตรวจนั้นอยู่ตรงไหน เช่น ต้องรู้ว่าแบตเตอรี่อยู่ตรงส่วนไหนของรถยนต์ กรองอากาศอยู่ตรงส่วนไหน เติมน้ำตรงไหน เติมน้ำมันเบรกน้ำมันคลัตช์ตรงไหน เติมน้ำมันเครื่องตรงไหน ถ้าไม่ทราบให้ศึกษาจากคู่มือประจำรถนั้นๆ เพื่อช่วยให้ท่านสามารถตรวจและบำรุงรักษาก่อนใช้รถยนต์ประจำวันได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จึงกำหนดคำนิยามง่ายฯ ขึ้นคือ BE-WAGON (บี-แวกอน) แต่ละตัวอักษรของคำ BE-WAGON ใช้แทนสิ่งที่จะต้องตรวจและบำรุงรักษาก่อนจะนำรถยนต์ออกไปใช้งานประจำวัน ดังนี้
B (Brake) ตรวจระดับน้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์และเบรกมือ
E (Eteetrieitn) ตรวจระบบไฟฟ้า ระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่
W (water) ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ ถังพักน้ำสำรอง ถังน้ำล้างกระจก
A (Air) ตรวจความดันลมยาง สภาพดอกยางรวมทั้งยางอะไหล่ด้วย
G (Gasoline) ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง
O (Oil) ตรวจระดับน้ำมันเครื่องและรอยรั่ว
N (Noise) ตรวจเสียงดังของเครื่องรถยนต์และบริเวณตัวถัง
การตรวจระดับมันเบรกน้ำมันคลัตช์ และเบรกมือ
ระดับน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์ในกระปุก สามารถมองเห็นได้ ซึ่งระดับน้ำมันเบรกน้ำมันคลัตช์ควรอยู่ระหว่างขีด “MAX” และ “MIN” ควรตรวจระดับน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์ทุกครั้งเมื่อมีการตรวจระดับน้ำมันเครื่อง ซึ่งระดับน้ำมันเบรกอาจจะลดลงบ้าง ควรเติมให้ถึงระดับ “MAX” อยู่เสมอ ถ้าในกรณีน้ำมันเบรกลดลงต่ำกว่าระดับ “MIN” แสดงว่ามีการรั่วในระบบเบรกจะต้องแก้ไขโดยเร็วซึ่งอาจจะต้องนำรถยนต์ไปให้ช่างตรวจซ่อมระบบเบรกก่อนที่จะนำรถออกไปใช้
การตรวจน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์ ควรใช้ความระมัดระวังเนื่องจากน้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์เป็นอันตรายต่อดวงตาและทำลายสีรถ อย่าใช้น้ำมันเบรกและน้ำมันคลัตช์ซึ่งเปิดใช้แล้วเก็บไว้นานเกิน 1 ปี เนื่องจากน้ำมันเบรกดูดความชื้นจากอากาศ ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบเบรก ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนน้ำมันเบรกตามกำหนดเวลาเป็นสิ่งจำเป็น โดยปกติควรเปลี่ยนทุกๆ 2 ปี ถ้าน้ำมันเบรกเก่าหรือเสื่อมสภาพ (มีน้ำปน) จะกัดกร่อนกระบอกเบรกเป็นหลุมเล็กๆ เรียกว่าตามด ทำให้น้ำมันเบรกรั้วได้
มันเบรกมาตรฐาน DOT (Department of Transportation)
น้ำมันเบรกมาตรฐาน DOT 3 ใช้กับรถยนต์ทั่วไป
น้ำมันเบรกมาตรฐาน DOT 4 เหมาะกับรถยนต์ที่ใช้ระบบเบรก ABS (antilock braking
system) ซึ่งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม
น้ำมันเบรกมาตรฐาน DOT 5 ใช้กับรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง
การตรวจเบรกมือ
เบรกมือทำหน้าที่ห้ามล้อหลังทั้งสองข้าง โดยการดึงด้ามเบรกมือขึ้น เมื่อจะปลดเบรกมือให้ดึงขึ้นเล็กน้อยและกดปุ่มที่ปลายด้ามแล้วจึงกดลงจนสุด เมื่อเบรกมือทำงาน ไฟเตือนสีแดงเป็นตัวอักษร “P” บนแผงหน้าปัดจะสว่างขึ้น ควรกดปุ่มปลดล็อกที่ปลายด้ามเบรกมือทุกครั้งที่ดึงเบรกมือขึ้น เพื่อป้องกันมิให้ฟันเฟืองล็อกสึกหรอ เวลาดึงเบรกมือขึ้นต้องไม่มีเสียงดัง
วิธีตรวจเบรกมือแบบง่าย ๆ
ทำโดยจอดรถบนทางลาดเอียงแล้วดึงเบรกมือขึ้นจนสุด ถ้ารถยังเคลื่อนที่ได้แสดงว่าสายเบรกหย่อนเกินไปต้องทำการปรับใหม่ ข้อสังเกตถ้าปรับสายเบรกมือตึงเกินไป จำนวนเสียงดัง “คลิก”จะน้อยกว่าค่ากำหนด แต่ถ้าปรับสายเบรกเมื่อหย่อนเกินไป จำนวนเสียงดัง “คลิก” จะมากกว่าค่ากำหนด
การตรวจแบตเตอรี่
แบตเตอรี่รถยนต์มีใช้กัน 2 แบบ ได้แก่ แบบทั่วไปและแบบปิดผนึก แบตเตอรี่แบบทั่วไปจะมีฝาจุกเปิดออกได้เพื่อใช้สำหรับเติมน้ำกลั่น ส่วนแบบปิดผนึกไม่ต้องเติมน้ำกลั่น ที่ส่วนบนของแบตเตอรี่มีตาแมวแสดงสภาพการประจุไฟของแบตเตอรี่และระดับน้ำกรด การตรวจแบตเตอรี่ว่ามีไฟเพียงพอที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ โดยการบีบแตรและเปิดไฟใหญ่ถ้าแตรดังเสียงเบาและไฟใหญ่หรี่แสดงว่าแบตเตอรี่อ่อน การตรวจแบตเตอรี่ด้วยสายตา ทำได้โดยการตรวจดูเปลือกหม้อแบตเตอรี่
และส่วนบนว่ามีรอยร้าวหรือไม่ ที่ยึดหม้อแบตเตอรี่ ฝาจุก สภาพขั้ว ถ้าขันเหล็กรัดแบตเตอรี่แน่นเกินไป อาจทำให้เปลือกหม้อแบตเตอรี่แตกร้าวได้ ถ้าฝากจุกอุดตัน อาจทำให้แบตเตอรี่บวมและระเบิดได้ ขั้วร้อนจัดหรือไม่ มีขี้เกลือขาวๆ จับที่ขั้วหรือไม่ น้ำกรดเพียงพอหรือไม่ วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดในแบตเตอรี่โดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ แบตเตอรี่เมื่อใช้งานนานๆ จะมีขี้เกลือขาวจับอาจจะเกิดจากน้ำกรดในแบตเตอรี่ซึมออกมา หรือการเติมน้ำกลั่นมากเกินไป ถ้ามีขี้เกลือเกาะที่ขั้ว แก้ปัญหาง่าย ๆ โดยใช้น้ำร้อนราดลงบนขั้วแบตเตอรี่
ตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่
แบตเตอรี่แบบทั่วไป เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ระดับน้ำกรดอาจจะลดลงบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใช้รถทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ต้องตรวจระดับน้ำกรดบ่อยขึ้น อย่างน้อยทุก ๆ 2 สัปดาห์ ถ้าพบว่าพร่องให้เติมน้ำกลั่นลงไป และอย่าเติมให้เกินระดับสูงสุดถ้ามองไม่ค่อยเห็นระดับน้ำกรด ให้ใช้ไฟฉายส่อง จะทำให้เห็นระดับน้ำกรดทางด้านข้างได้อย่างชัดเจน ถ้าระดับน้ำกลั่นต่ำเกินไปจะทำให้เกิดขี้เกลือขึ้นบนแผ่นธาตุ แบตเตอรี่จะชำรุดอย่างรวดเร็วควรเติมท่วมสูงกว่าแผ่นธาตุที่มองเห็นประมาณ 1 เซนติเมตร และควรตรวจแบตเตอรี่ให้ครบทุกช่อง ห้ามเติมด้วยน้ำชนิดอื่นโดยเด็ดขาดและต้องไม่เติมจนล้น เพราะน้ำกรดในแบตเตอรี่จะไหลออกมากัดกร่อนภายนอกทำให้เกิดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดเจือจาง เมื่อเติมน้ำกลั่นแล้ว ปิดฝาจุกให้แน่น
การตรวจไฟแสงสว่างของรถยนต์
ผู้ขับขี่ต้องรู้ว่าถ้าหลอดไฟเหล่านี้ไม่ติด หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ทำงาน สิ่งแรกจะต้องตรวจคือฟิวส์ขาดหรือไม่ บางครั้งอาจแค่หลวมก็ได้ ตำแหน่งแผงฟิวส์ควรดูในสมุดคู่มือประจำรถ โดยทั่วไปมักจะติดตั้งอยู่ที่บริเวณใต้แผงหน้าปัดและบริเวณห้องเครื่อง
วิธีตรวจฟิวส์แบบง่าย ๆ ทำได้ดังนี้
1. เปิดฝาครอบแผงฟิวส์ออก
2. ดึงฟิวส์ของอุปกรณ์นั้นออกมาด้วยที่ดึงฟิวส์
3. ถ้าพบว่าฟิวส์ขาดให้เปลี่ยนใหม่ ควรใช้ฟิวส์อะไหล่ตรงตามรายการที่มีให้ไว้บนฝา
ครอบแผงฟิวส์
4. ถ้าใส่ฟิวส์อันใหม่ลงไป เปิดสวิทช์อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นปรากฏว่าฟิวส์ขาดอีก แสดงว่า
เกิดการลัดวงจร ไม่ควรใช้เส้นลวดใส่เข้าไปแทน ควรนำรถเข้าตรวจสอบระบบไฟฟ้าที่ศูนย์บริการทันทีเพื่อความปลอดภัย
5. ถ้าฟิวส์ไม่ขาดแต่หลอดไฟไม่ติด แสดงว่าหลอดไฟอาจจะขาด หรือขั้วสายสกปรก
ควรถอดหลอดไฟออกมาตรวจดู
ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำ ถังพักน้ำสำรอง และถังน้ำล้างกระจก
ตรวจระดับน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำขณะเครื่องยนต์เย็น โดยเปิดฝาปิดหม้อน้ำ ถ้าน้ำในหม้อน้ำพร่องใช้น้ำสะอาด (อาจผสมน้ำยาหล่อเย็น) เติมให้เต็มจนถึงระดับคอหม้อน้ำและเติมน้ำในถังพักสำรองจนถึงขีดสูงสุด ระบบหล่อเย็นในปัจจุบันเป็นแบบระบบปิด โอกาสที่น้ำหล่อเย็นจะสูญเสียหรือลดลงมีน้อยมาก การตรวจระดับน้ำหล่อเย็นมักดูระดับน้ำในหม้อพักน้ำสำรอง จะต้องอยู่ระหว่างขีดสูงสุดและต่ำสุด ถ้าระดับต่ำกว่าขีดต่ำสุดให้เปิดฝาและเติมให้ถึงระดับสูงสุด (พอดี) และตรวจเติมน้ำในถังน้ำล้างกระจก (อาจผสมน้ำยาล้างกระจก)ไปพร้อมกัน
กรณีน้ำในถังพักน้ำสำรองแห้งสนิท ให้เปิดฝาปิดหม้อน้ำออกและเติมน้ำจนถึงระดับคอหม้อน้ำและเติมน้ำในถังพักน้ำสำรองจนถึงขีดสูงสุด ถ้าน้ำหล่อเย็นลดลงเร็วกว่าปกติอาจเกิดการรั่วที่ใดที่หนึ่ง ควรตรวจดูท่อยางบริเวณที่รัดท่อยาง ก๊อกถ่ายน้ำรอยรั่วบริเวณหม้อน้ำ เพื่อตรวจซ่อมหรือนำไปให้ช่างซ่อมต่อไป
ควรตรวจเช็คลมยางทุกๆ 2 สัปดาห์ หรืออย่างน้อยเดือนละครั้งรวมทั้งยางอะไหล่ด้วย แรงดันลมยางที่ไม่ถูกต้อง อาจทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ลดความสะดวกสบายในการขับขี่ ลดอายุการใช้งานของยางและไม่ปลอดภัยต่อการขับขี่ ถ้าพบว่าต้องเติมลมยางบ่อยกว่าปกติควรนำรถเข้าตรวจสภาพ ข้อแนะนำในการตรวจเช็ดลมยางดังนี้
1. ควรตรวจเช็ดลมยางขณะที่ยางเย็นเท่านั้น ถ้ารถจอดอยู่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง และขับมาไม่เกิน 1.5 กิโลเมตร จะทำให้การตรวจเช็ดลมยางแน่นอนยิ่งขึ้น
2. ใช้เกจวัดลมยางทุกครั้ง การใช้สายตาสังเกตลมยางนั้นผิดพลาดได้ง่ายนอกจากนี้แรงดัน
ลมยางผิดพลาดไปเพียง 2-3 ปอนด์ ก็มีผลต่อการขับขี่และควบคุมรถได้
3. อย่าปล่อยหรือลดแรงดันลมยางหลังจากขับขี่ ภายหลังการขับขี่แรงดันลมยางจะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากความร้อน
4. ต้องแน่ใจว่าปิดฝาเติมลมยางกลับเข้าที่แล้ว ถ้าไม่ปิดฝาสิ่งสกปรกหรือความชื้นจะเข้าไปภายในแกนวาวล์และทำให้ลมรั่วได้ ถ้าเกิดฝาเปิดหายต้องหาฝาใหม่มาปิดให้เร็วที่สุด
การตรวจเช็ดสภาพยาง
ตรวจเช็ดสภาพดอกยาง โดยสังเกตจากตัวบ่งชี้ดอกยางสึก ถ้าตัวบ่งชี้ดอกยางสึกปรากฏขึ้น ให้เปลี่ยนยางใหม่ตำแหน่งของตัวบ่งชี้ดอกยางสึกจะปรากฏเป็นเครื่องหมาย เช่น “TWI’’ หรือ “Δ” , ฯลฯ ที่ด้านข้างของยางแต่ละเส้น ยางของรถโตโยต้าจะมีตัวบ่งชี้ดอกยางสึกอยู่ด้วยเพื่อช่วยให้ทราบว่าเมื่อใดที่ควรเปลี่ยนยาง เมื่อดอกยางสึกเหลือเพียง 1.6 มม. (0.06 นิ้ว) หรือน้อยกว่าจะปรากฏตังบ่งชี้ให้เห็น หากสังเกตเห็นรอยดังกล่าวมากกว่า 2 แนวขึ้นไป ควรเปลี่ยนยางใหม่ ยิ่งดอกยางตื้นมากเท่าไรก็ยิ่งเสี่ยงกับการลื่นไถลมากขึ้นเท่านั้น ถ้ายางแบนบ่อยๆ หรือไม่สามารถซ่อมได้อันเนื่องมาจากขนาดหรือตำแหน่งที่ฉีกขาดหรือความเสียหายอื่นๆ ควรเปลี่ยนใหม่หากไม่แน่ใจ ควรปรึกษาศูนย์บริการยาง ลมยางรั่วในขณะขับขี่อย่าขับต่อไป การขับขี่แม้เพียงระยะทางสั้นๆ ก็สามารถทำความเสียหายรุนแรงแก่ยางได้ ถ้ายางมีอายุการใช้งานนานกว่า 6 ปี ต้องให้ช่างผู้ชำนาญทำการตรวจเช็คแม้จะไม่ปรากฏร่องรอยความเสียหายชัดเจนก็ตาม สำหรับยางอะไหล่และยางที่เก็บไว้เป็นเวลานานก็เช่นเดียวกัน เมื่อยางถูกใช้งานเป็นเวลานาน ๆ ยางอาจสึกไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรสลับยางเพื่อให้ยางสึกเท่ากันและใช้งานได้นาน
ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง
การเลือกใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ถูกต้องนั้นมีความสำคัญต่อสมรรถนะที่ดีต่อเครื่องยนต์ ก่อนที่ผู้ขับขี่จะออกรถทุกครั้งจำเป็นต้องตรวจระดับน้ำมันในถัง เพื่อความมั่นใจในการขับขี่ ควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เต็มถังทุกครั้ง ถ้าหากเติมน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เต็มถังความชื้นของอากาศภายในถังจะรวมตัวกลายเป็นหยดน้ำเกาะอยู่ตามผนังด้านในของถังน้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากน้ำมันมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจึงรวมอยู่ที่ก้นถัง ทำให้ถังเกิดสนิมได้และสนิมนี้จะถูกดูดขึ้นไปทำให้ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงอุดตันเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบและเครื่องดับได้
ตรวจน้ำมันเครื่อง
ก่อนทำการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง รถยนต์จะต้องจอดอยู่บนพื้นราบและเครื่องยนต์ต้องเย็น (ถ้าเครื่องเย็นน้ำมันเครื่องจะรวมตัวกันอยู่ที่ก้นอ่าง) ค่าที่อ่านได้จากเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องจะถูกต้องแน่นอนและควรเติมให้อยู่ในระดับ
ดึงเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องออก ใช้ผ้าเช็ดน้ำมันเครื่องที่ติดมากับเหล็กวัดออก แล้วเสียบเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องลงไปใหม่ให้ลึกที่สุด ดึงเหล็กวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาให้อยู่ในแนวราบแล้วตรวจเช็ดระดับน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านเหล็กวัด (ระมัดระวังอย่าทำน้ำมันเครื่องหยดลงบนชิ้นส่วนเครื่องยนต์) ถ้าระดับน้ำมันเครื่องต่ำหรืออยู่เหนือระดับต่ำเล็กน้อยให้เติมน้ำมันเครื่องชนิดเดียวกันเพิ่มลงไป โดยเปิดฝาช่องเติมน้ำมันเครื่องค่อยๆเติมน้ำมันเครื่องลงที่ละน้อย พร้อมกับตรวจดูระดับน้ำมันที่ก้านเหล็กวัด (ปริมาณน้ำมันเครื่องที่ต้องเติมเพิ่มระหว่างเส้นระดับต่ำกับเส้นระดับเต็ม 1.5 ลิตร ) เมื่อระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับถูกต้องแล้ว ให้เสียบก้านเหล็กวัดกลับเข้าที่แล้วปิดฝาช่องเติมน้ำมันเครื่อง โดยใช้มือบิดให้แน่น
การตรวจเสียงดังของเครื่องยนต์
โดยทั่วไปแล้วถ้าเครื่องยนต์ทำงานปกติเสียงของเครื่องยนต์จะไม่ดังมากมายนัก แต่ถ้าเครื่องยนต์ดังผิดปกติ ผู้ขับขี่อาจใช้เครื่องฟังเสียงตรวจดูแหล่งที่มาของเสียงนั้น เสียงดังที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้แก่ เสียงดังที่เกิดจากสายพานหย่อน เสียงดังที่เกิดจากไฟแรงสูงรั่ว (สายหัวเทียน ) เสียงดังที่เกิดจากเครื่องหรือโซ่ราวลิ้นสึกหรอ เสียงดังที่เกิดจากท่อไอเสียรั่ว เสียงวาล์วดัง และเสียงดังต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องยนต์ชำรุดในขณะขับรถยนต์ถ้าได้ยินเสียงดังผิดปกติเกิดขึ้นทันทีทันใด ผู้ขับขี่ควรหยุดรถและตรวจดูว่าเสียงดังมาจากส่วนไหนของเครื่องยนต์ ถ้าเห็นว่าไม่ปลอดภัย ไม่ควรขับต่อไปเพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายรุนแรง ( ควรนำไปให้ช่างซ่อมเครื่องยนต์ตรวจซ่อม )
การบำรุงรักษาตามคู่มือการใช้รถ (Owner’s Manual)
การตรวจเช็ครถตามระยะเวลาที่บริษัทผู้ผลิตกำหนดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องกระทำเมื่อถึงกำหนด เพื่อบำรุงรักษาให้รถอยู่ในสภาพที่สมบรูณ์อยู่เสมอ นอกจากนี้การบันทึกข้อมูลยังเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้การตรวจเช็ดครั้งต่อไปถูกต้อง ดังนั้นเพื่อผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้ง ตัวเจ้าของรถ และรถของท่านควรนำรถเข้าตรวจในศูนย์บริการของบริษัทผู้ผลิตตามระยะเวลาหรือระยะทางที่กำหนด
หมายเหตุ
1. ตรวจเช็คเสียงเคาะและการสั่นของเครื่องยนต์ และปรับตั้งถ้าจำเป็น
2. หลังจาก 80,000 กม. หรือ 48 เดือน ให้ตรวจสอบทุก ๆ 20,000 กม. หรือ 12 เดือน
3. ตรวจเช็คดูว่าไม่มีเศษใบไม้ หรือซากแมลงอุดตันที่หม้อน้ำและคอนเด็นเซอร์พร้อมทั้ง
ทำความสะอาดรอยต่อท่อ ตรวจเช็คสภาพการติดตั้งของรอยต่อท่อ การผุกร่อน ฯลฯ
4. เปลี่ยนที่ 160,000 กม. จากนั้นทุก ๆ 80,000 กม. ใช้เฉพาะน้ำยาหล่อเย็นที่มีส่วนผสม
ของเอทธิลีน-ไกลคอลที่มีคุณภาพสูงใกล้เคียงกัน แต่ต้องปราศจากสารประกอบซิลิกา
5. ใช้เฉพาะน้ำยาหล่อเย็นที่มีส่วนผสมของเอทธิลีน-ไกลคอลที่มีคุณภาพสูงใกล้เคียงกัน แต่ต้องปราศจากสารประกอบซิลิกา สารประกอบไนโตรเจน กรดไนตรัส และกรดโบริค ซึ่งใช้เทคโนโลยีการผสมเพื่อยืดอายุการใช้งาน
6. หลังจาก 80,000 กม. หรือ 48 เดือน ให้ตรวจสอบทุก ๆ 20,000 กม. หรือ 12 เดือน
การทำความสะอาดยานพาหนะ
การทำความสะอาดเบาะควรดูว่าวัสดุเบาะเป็นผ้าหรือหนัง (หนังแท้หรือหนังเทียม) เพราะวัสดุทั้งสองชนิดมีข้อดีและข้อเสียต่างกันคือ เบาะผ้าจะดูแลทำความสะอาดยากกว่า แต่จะไม่เก็บความร้อนในขณะจอดยานพาหนะตากแดด ส่วนเบาะหนังแท้หรือหนังเทียมจะดูแล ทำความสะอาดง่าย แต่เก็บความร้อนได้มากกว่าแบบผ้า ดังนั้นจึงควรเลือกวิธี ทำความสะอาดให้เหมาะสม ก่อนเริ่มทำความสะอาด ให้นำยานพาหนะไว้ในที่โล่งแจ้ง และมีแสดงสว่าง เปิดประตูและกระจกหมดทั้ง 4 บาน ใช้ไม้ปัดขนไก่มาตีเบาะและพนักพิงให้ทั่วทั้งเบาะหน้าและหลัง ผู้ทำความสะอาดควรอยู่ต้นลม เพื่อป้องกันไม่ให้สูดดมฝุ่นกระจายออกมา ส่วนการทำความสะอาดเบาะหนังแท้หรือหนังเทียมนั้น ควรใช้น้ำยาขัดเงา ทำความสะอาดเบาะ โดยใช้ผ้า หรือฟองน้ำจุ่มน้ำยาขัดเงาขัดคราบสกปรกให้ทั่ว จุ่มน้ำยาแต่น้อยเพื่อป้องกันการเหนียวเหนอะหนะ และน้ำยาชนิดนี้ยังสามารถนำมา ทำความสะอาดแผงหน้าปัดและแผงประตูได้เช่นกัน คุณสมบัติของน้ำยาช่วยทำให้ พื้นผิวหน้าสะอาดปกป้องฝุ่นไม่ให้จับติดแน่น ป้องกันการซีดจางกรอบแห้งแตกร้าว จากแสงแดดเผา และช่วยเพิ่มความเงางามให้ดูเหมือใหม่ตลอด
การทำความสะอาดพรมพื้นรถ ใช้เครื่องดูดฝุ่นที่ใช้ในยานพาหนะ หรือเครื่องดูดฝุ่นบ้านมาดูดฝุ่นตามที่ต่าง ๆ แต่ถ้าไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว หรือมีฝุ่นไม่มาก ใช้กระดาษกาวมาพันรอบปลายนิ้วมือ 1 รอบ โดยให้กระดาษกาวส่วนที่มีความเหนียวที่สามารถจับติดกับสิ่งอื่นอยู่ด้านนอก นำมาเก็บสิ่งต่าง ๆ เช่น เศษขนม เม็ดดิน เม็ดทราย หรือเส้นผมที่ตกหล่นบนพรมพื้นรถ หลังจากทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว เครื่องปรับอากาศภายในยานพาหนะก็เป็นเรื่องที่สำคัญต้องรู้จักวิธีการบำรุงอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างอากาศที่บริสุทธิ์ให้แก่ผู้ขับขี่