วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ในหลวงกับเทคโนโลยี




พระราชดำริปาล์มน้ำมัน ไบโอดีเซล

วันนี้ ใครๆ ต่างก็พูดถึงน้ำมันไบโอดีเซล ไบโอดีเซลคืออะไร
คำตอบ ก็คือ ไบโอดีเซล หมายถึง น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากไขพืชหรือ
ไขมันสัตว์ มีคุณสมบัติเทียบเท่าน้ำมันดีเซลทั่วไป ตรงกับที่จะนำไป

ใช้ในการจุดระเบิด เครื่องยนต์ดีเซล แต่จะมีใครรู้บ้างว่า เรื่องของปาล์ม

น้ำมันและไบโอดีเซล เป็น
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทดลองทดสอบเป็นเวลา
นานนับสิบๆ ปีแล้ว ผลของการทดลองทดสอบตามพระราชดำริในเรื่องนี้
ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ปาล์มน้ำมันสามารถนำมาสกัดเป็น
น้ำมันปาล์มและนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลได้ และทรงทดลองให้เห็นเป็น
ตัวอย่างด้วยพระองค์เองด้วยรถยนต์พระที่นั่งที่ประทับใช้เมื่อครั้งเสด็จฯไป
ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่
2 มิถุนายน 2544 ในวันนั้น ... รถยนต์พระที่นั่งติดสติ๊กเกอร์ท้ายรถว่า
รถคันนี้ใช้น้ำมันปาล์ม 100%อีก 4 ปีต่อมา...คือในวันนี้ เครื่องยนต์ดีเซล
สามารถเติมน้ำมันไบโอดีเซลได้แล้วที่โรงงานสาธิตผลิตเมทิลเอสเตอร์ของ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่สถานีจ่ายน้ำมันไบโอดีเซลที่ศูนย์ศึกษา
การพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เรื่องนี้นับย้อนหลังไปได้ 30 ปี คือในวันที่ 9 กันยายน 2518
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสวนปาล์มน้ำมัน
ของเกษตรกรที่นิคมสร้างตนเองควนกาหลง จังหวัดสตูล และในปีถัดมา
ได้เสด็จฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทอดพระเนตรโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มแบบ
ชาวบ้านที่โรงงานของนิคมสร้างตนเองควนกาหลง จนกระทั่งในปี 2526
มีพระราชกระแสที่ชัดเจนว่า ควรจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรสวนปาล์ม
รายย่อยเหล่านี้ ได้มีโอกาสรวมกลุ่มกันทำการสกัดน้ำมันปาล์มในรูปของ
โรงงานขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ทรงเน้นถึงประโยชน์ของปาล์มน้ำมัน
ในทุกๆ ส่วน และไม่ให้ทิ้งส่วนใดไปอย่างไร้ค่า เช่น ทะลายเปล่า ก็อาจนำ
มาทำปุ๋ย หรือเพาะเห็ด ส่วนกากปาล์มก็สามารถนำไปใช้เลี้ยงวัว ควาย
และปลา หรือทำเป็นเชื้อเพลิงแทนไม้ฟืนก็ได้ หากเกษตรกรสามารถแปรรูป
น้ำมันดิบให้เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำมันปรุงอาหาร
เนยขาว เนยเทียม สบู่ และผงซักฟอกได้ ก็จะทำให้เกษตรกรมีโอกาสใช้และ
จำหน่ายผลผลิตเหล่านี้เพื่อกินและใช้ในท้องถิ่นของตัวเอง จากนั้น มีพระราช
กระแสให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทำโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม
น้ำมันปาล์มขนาดเล็กอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยสร้างโรงงานสาธิต
สกัดน้ำมันปาล์มที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และในปี 2528 ได้เสด็จฯ ไป
ทอดพระเนตรโรงงานนี้ และมีพระราชกระแสเพิ่มเติมให้สร้างโรงงานที่
สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ เพื่อเป็นโรงงานสาธิตให้กลุ่มเกษตรกร
สวนปาล์มรายย่อยที่มีความพร้อม จัดทำคู่มือปาล์มน้ำมันและการแปรรูป
น้ำมันปาล์มเผยแพร่ รวมทั้งจัดตั้งกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ขนาดเล็ก ในปี 2531 พระราชทานพระราชดำริให้จัดสร้างโรงงานสกัด
และแปรรูปน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส อีกแห่ง โดยนำผลผลิตปาล์มน้ำมัน
มาสกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบและแปรรูปต่อเนื่องจนถึงขั้นบริโภค เน้นการ
สาธิตให้เกษตรกรมาศึกษาหาความรู้ และเห็นประโยชน์ว่าปาล์มน้ำมัน
สามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง และเมื่อเข้าใจแล้วจะได้นำไปปลูกในพื้นที่
ของตนต่อไป เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการใช้น้ำมันปาล์มโอเลอีน
บริสุทธิ์ และเมทิลเอสเตอร์เดินเครื่องจักรกลการเกษตรที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา
พิกุลทองฯ มีพระราชกระแสว่า ? พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสน
พระทัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันปาล์มผสมน้ำมันดีเซล เพื่อใช้ในเครื่องจักรกล
การเกษตร ควรทดลองทำในเชิงธุรกิจลักษณะสถานีจำหน่ายในสหกรณ์นิคม
อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และ มีพระราชประสงค์จะสนับสนุนโครงการนี้เป็นการ
ส่วนพระองค์? การศึกษาทดลองและพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตจึงดำเนิน
การเรื่อยมา จนในวันนี้โรงงานทั้งสามแห่งสามารถสนองพระราชดำริได้อย่าง
ครบถ้วน ทั้งในเรื่องการสกัดน้ำมันปาล์มดิบ การกลั่นน้ำมันปาล์มดิบเป็นน้ำมัน
ปาล์มโอเลอีนบริสุทธิ์ ผลิตเนยขาว เนยเทียมจากไขเสตียรินบริสุทธิ์ รวมทั้งผลิต
สบู่ซักล้าง สบู่ฟอกร่างกายได้ และนำไปใช้เร่งน้ำยางพาราได้เป็นผลสำเร็จ
ที่สำคัญ การทดลองใช้น้ำมันไบโอดีเซลกับขบวนรถไฟดีเซลรางสายหาดใหญ่
-สุไหงโกลก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ของมหาวิทยาลัยฯ รถลากพ่วง รถ
บรรทุก เครื่องจักรกลการเกษตร และบุคคลภายนอก ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก
และผู้ที่ได้ทดลองใช้ต่างพูดกันว่า ใช้แล้วควันรถไม่ดำ ไม่มีกลิ่นเหม็น กำลังรถ
ดีเหมือนเดิม ส่วนรถบรรทุก 6 ล้อ กำลังรถดีกว่าเดิม การติดเครื่องยนต์เป็นปกติ
มีเพียงรถ 6 ล้อ และเครื่องสูบน้ำที่ต้องสตาร์ท 2 ครั้ง เมื่อราคาน้ำมันดีเซลใน
ปัจจุบันมีการปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกตลาด และเงื่อนไขบางอย่างที่ไม่อาจหลีก
เลี่ยงได้ ทำให้มีผู้มาขอซื้อน้ำมันไบโอดีเซลเป็นจำนวนมากขึ้น จนโรงงานผลิต
ไม่ทันจำหน่าย ทำให้มหาวิทยาลัยฯ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ มี
แผนงานที่จะขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้ทันแก่ความต้องการของผู้ใช้ และ
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราช
กระแสเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มเพิ่มเติมอีกว่า "...น้ำมันปาล์มทราบว่าดีเป็น
น้ำมันที่ดีใช้งานได้ ใช้บริโภคแบบใช้น้ำมันมาทอดไข่ได้ มาทำครัวได้ เอา
น้ำมันปาล์มมาใส่รถดีเซลได้ กำลังของน้ำมันปาล์มนี้ดีมากได้ผล เพราะว่า
เมื่อได้มาใส่รถดีเซลไม่ต้องทำอะไรเลย ใส่เข้าไป แล่นไป คนที่แล่นตาม
บอกว่าหอมดี... " ณ วันนี้ ... ปาล์มน้ำมันจึงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีผู้
สนใจที่จะปลูกกันมากขึ้น แม้ว่า ปาล์มน้ำมันจะเป็นพืชยืนต้นที่ทนทานต่อ
ภัยธรรมชาติ แต่มีสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงควบคู่ไปด้วย ก็คือ ความเหมาะสม
ของสภาพพื้นที่ สภาพอากาศ ความชื้น และยังต้องระมัดระวังสายพันธุ์ที่จะ
ปลูกด้วย มิฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ลงทุนไปทั้งหมดนั้น ก็อาจจะไม่คุ้มค่าและคุ้มทุน
ได้ ทั้งหมดนี้คือ พระอัจฉริยภาพในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมอง
เหตุการณ์ไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ จะนึกถึงกัน ทรงมองเห็นคุณค่าของปาล์ม
น้ำมัน ซึ่งเป็นพืชวัตถุดิบที่มีในบ้านเมืองเราที่มีศักยภาพจะใช้เป็นเชื้อเพลิง
ทดแทนได้ในยามที่ทั่วโลกจะต้องพึ่งพาเมื่อถึงภาวะวิกฤติทางด้านน้ำมัน และ
ทรงอดทนรอผลแห่งความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาจนกลายเป็นไบโอดีเซล
มาอย่างยาวนาน ก่อนที่จะมีการตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานทดแทนกัน
อย่างกว้างขวาง ในขณะนี้
พระราชดำริเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ประสบชัยชนะแห่งการพัฒนาแล้ว...ในวันนี้
? ? ? ?
http://www.chaipat.or.th/





1 ความคิดเห็น: